top of page

กระท่อม คืออะไร ชนิด และประโยชน์ ของใบกระท่อม





กระท่อม เป็นพืชที่มีสรรรพคุณเป็นยารักษาโรค และบรรเทาอาการต่างๆ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับการบริโภคกระท่อม ด้วยภาพจำในอดีต

ทางไร่เกื้อการุณจึงอยากมาสรุปเกี่ยวกับกระท่อม เพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก และเข้าใจเกี่ยวกับกระท่อมกันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ



กระท่อม คือ

1. กระท่อม คืออะไร


กระท่อม เป็นไม้ยืนต้น ตระกูล รูเบียซีอี(Rubiaceae) ซึ่งอยู่ในวงศ์เข็ม และกาแฟ โดยพบได้มากในเขตร้อนชื้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เจริญเติบโตได้ดีในที่ดินอุดมสมบูรณ์ และที่ชุ่มชื้น โดยเฉพาะในที่ที่มีความชื้นสูง และกระท่อมนั้น มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ก้านขาว, ก้านแดง, แมงดา, แตงกวา โดยในแต่ละภาคของประเทศไทยจะมีการเรียกใบกระท่อมแตกต่างกันไป เช่น ภาคใต้เรียก ท่อม/ท่ม ภาคเหนือเรียกอีด่าง/กระอ่วม นอกจากนั้นแล้วอายุของใบกระท่อมสามารถสังเกตได้ จากการจับบริเวณก้าน โดยถ้าก้านมีความแข็งแสดงว่าใบกระท่อมนั้นแก่แล้ว ซึ่งนิยมรับประทานแบบสด แต่ถ้าเป็นใบอ่อนจะนิยมนำไปต้มและค่อยบริโภค ซึ่งจริงๆ แล้วนั้น กระท่อมมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย แต่ในขณะเดียวกันหากรับประทานมากจนเกินปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคก็อาจเกิดอาการเสพติดได้


ชนิดของกระท่อม
ขอบคุณภาพจาก TNN Online

2. กระท่อมมีชนิดใดบ้าง


สำหรับในประเทศไทยนั้นพบพันธุ์หลักๆ และนิยมปลูกอยู่ 3 สายพันธุ์ ซึ่งได้แก่ ก้านแดง แตงกวา(ก้านเขียว) และยักษ์ใหญ่ (ขอบใบหยัก/หางกั้ง) มาถึงตรงนี้ หลายๆ คนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่าแต่ละสายพันธุ์แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ทางไร่เกื้อการุณสรุปมาให้เรียบร้อยแล้ว - ก้านแดง: ลักษณะจะมีก้าน เส้น และหูใบเป็นสีแดง - แตงกวา (ก้านเขียว): มีเส้นใบสีเขียวอ่อนกว่าแผ่นใบ ส่วนหูใบเป็นสีเขียวอ่อน - ยักษ์ใหญ่ (ขอบใบหยัก/หางกั้ง): ขนาดของใบจะใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุอื่น และด้านบนของขอบใบจะเป็นรอยหยัก



กระท่อม ประโยชน์


3. ประโยชน์ของใบกระท่อม


จากงานวิจัย และบทความต่างๆ นั้นได้ระบุถึงประโยชน์ของใบกระท่อมที่หลากหลาย จากการรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เช่น การลดอาการปวดตามข้อ จากการมีสารแอลคะลอยด์ Mitragynine ในใบกระท่อม จากบทความของ ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ ซึ่งหากดูประโยชน์ของใบกระท่อมตามชนิด หรือ สายพันธุ์ของใบกระท่อม อย่างเช่นกระท่อมสายพันธุ์ก้านแดง ซึ่งถือเป็นสายพันธุ์ที่นิยม นำมาใช้สำหรับการบรรเทาอาการ และรักษาโรค โดยนำมาทำเป็นเครื่องยาต่างๆ ตั้งแต่ในสมัยหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีสรรพคุณ เช่น โรคท้องร่วง โรคเบาหวาน โรคปวดเมื่อย แก้ไอ ขับพยาธิ



กระท่อม ควรกิน กี่ใบ


4. ปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภค


จากบทความที่น.พ.มานัสได้กล่าวไว้ สำหรับกระท่อมนั้นหากรับประทานสด ควรรูดก้านออก แล้วจึงเคี้ยวใบ และไม่ควรกลืนกาก เพราะย่อยได้ยาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดเป็นก้อนแข็งในท้อง และอาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องได้ ที่สำคัญไม่ควรบริโภคเกินวันละ 5 ใบ



 

อ้างอิง: Pharmacy Mahidol, Sanook, WorkPoint Today, The Matter, ONCB

Comments


bottom of page